องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organiztion : LO)
องค์กรแห่งการเรียนรู้มีผู้ให้ความหมายหลายท่านดังนี้
David A. Gavin (1990) แห่ง Harvard University กล่าวว่า องค์กรที่มีลักษณะในการสร้างแสวงหาและถ่ายโยงความรู้ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากความรู้ใหม่ และการเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างถ่วงแท้
Michaek Marquardt (1994) แห่ง George Washington University กล่าวว่า องค์กรที่ซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยเข้าใจในสรรพสิ่ง
Peter M Senge กล่าวถึง ลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติ 5 ประการ คือ
1. System Thinking คือ ความสามารถในการคิดเชิงระบบ
2. Mental Model Model คือการตระหนักถึง กรอบแนวคิดของตนเอง ทำให้เกิดความกระจ่างกับรูปแบบ ความคิด ความเชื่อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน
3. Personal Mastery องค์การเรียนรู้ต้องสามารถส่งเสริมให้คนในองค์การเรียนรู้ พัฒนาตนเอง คือการสร้างจิตสำนึกในการฝ่ายรู้ฝ่ายเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล สร้างสรรค์ผลที่มุ่งหวัง และสร้างบรรยากาศกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้พัฒนาศักยภาพไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
4. Shared Vision องค์การที่เรียนรู้จะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม
5. Team Learming ในองค์การที่เรียนรู้ จะต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม คือ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์และทักษะวิธีคิดเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงานโดยรวม มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดข้อมูล ในระหว่างกันและกัน
ปัจจุบันมีนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีชื่อเสียง 3 ท่าน เห็นว่าการพัฒนาองค์การให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำต้องพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ดังนี้
Peter Senge | Michael Marquardt | David A. Gavin |
1.คิดเป็นอย่างมีระบบครบวงจร | 1.มีการปรับเปลี่ยนองค์การ | 1.การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ |
2.ไฟแรงใฝ่รู้ควบคู่ด้วยศักยภาพ | 2,การจัดการกับองค์ความรู้ | 2.การทดลองใช้กับวิธีการใหม่ๆ |
3.รับรู้ภาพลักษณ์โลกรอบตัวอย่าง ถูกต้อง | 3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี | 3.การเรียนรู้จากประสบการณ์ของ ตนและเรื่องในอดีต |
4.มองเห็นวิสัยทัศร่วมกัน | 4.การเพิ่มอำนาจ | 4.การเรียนรู้จากประสบการณ์และ วิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น |
5.เรียนรู้เป็นทีม | 5.พลวัตรการเรียนรู้ | 5.การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็ว |
ตารางแสดงสรุปขั้นตอนสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สรุปโดย นายพีระ พลรักษ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา ศูนย์โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ รุ่นที่ 3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น